ฮอร์โมนส์ ฮอร์โมน เป็นสารเคมีในร่างกายที่มีอยู่ในร่างกายของทุกคน ทุกเพศและทุกวัย สามารถจำแนกได้หลายกลุ่มและประเภทตามหน้าที่การทำงานของฮอร์โมนชนิดนั้นๆ ทางเว็บของเราจึงอยากมานำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฮอร์โมนส์ ที่มีอยู่ในร่างกายของเราสำหรับใครที่สงสัย


ฮอร์โมนส์

ฮอร์โมนส์ หน้าที่คืออะไร

ฮอร์โมนทำหน้าที่เป็นตัวส่งสารเคมีระหว่างเซลล์กลุ่มหนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่ในการกระตุ้นการเจริญเติบโต ควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน และกระบวนการต่างๆของร่างกายในแต่ละช่วงเวลาและอายุ และควบคุมกระบวนการ Metabolism ต่างๆ ในร่างกาย เช่น ประมาณน้ำในร่างกาย ความดัน อุณหภูมิ ระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงคบคุมระบบสืบพันธุ์ต่างๆ

ฮอร์โมนผลิตจากอวัยวะใดบ้าง

ต่อมไร้ท่อ (Endocrine Gland) แบ่งเป็น

  • ต่อมไร้ท่อที่จำเป็น ถ้าขาดฮอร์โมนจากอวัยวะเหล่านี้ จะทำให้เกิดอันตรายกับร่างกาย เช่น ตับอ่อน
  • ต่อมไร้ท่อที่ไม่จำเป็น ถ้าขาดฮอร์โมนจากอวัยวะเหล่านี้ไป ร่างกายก็ยังคงทำงานได้ เช่น รังไข่
  • เนื้อเยื่อ (Tissue) เช่น กะเพาะอาหาร สำไส้เล็ก ผลิตฮอร์โมนที่กระตุ้นระบบย่อยอาหาร
  • เซลล์ประสาท (Neuron) ผลิตจากต่อมใต้สมองเช่น ไฮโพทาลามัส ทำหน้าที่ส่งคำสั่งไปยังอวัยวะเป้าหมายให้ทำงาน

ฮอร์โมนไม่สมดุลเกิดจากอะไร

ภาวะพร่องฮอร์โมนจากฮอร์โมนไม่สมดุล เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ อารมณ์หรือความเครียดต่างๆ หรือได้รับสารอาหารได้ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน รวมไปถึงการไม่ออกกำลังกายก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการฮอร์โมนไม่สมดุลได้เช่นกัน รวมไปถึงช่วงอายุต่างๆ เช่น ช่วงวัยที่เราเป็นผู้ใหญ่ อายุ 20-25 ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนได้มากที่สุด และลดลงไปเรื่อยๆตามอายุที่เพิ่มขึ้น พอช่วงอายุ 30 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศ

เพราะฮอร์โมนเพศจะเริ่มผลิตได้น้อยลงในแต่ละช่วงวัย ถ้าสำหรับผู้ชายก็อาจจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความรู้สึกทางเพศต่างๆรวมไปถึงกระดูกและกล้ามเนื้อที่ลดลงด้วยเช่นกัน สำหรับผู้หญิงจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นปกติทุกรอบเดือนอยู่แล้ว ส่วนใหญ่จะเจอปัญหาเกี่ยวกับภาวะทางอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลง แต่เมื่ออายุมากขึ้นประจำเดือนก็จะมาลดลง และเริ่มมีปัญหาเรื่องกระดูกและมวลกระดูก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกพรุนได้มากในผู้หญิง รวมไปถึงสิวที่มักจะขึ้นเมื่อมีรอบเดือนหรือก่อนมีประจำเดือนด้วยเช่นกัน

อาการของระดับ ฮอร์โมน ไม่สมดุล และปัญหาจากฮอร์โมนที่ลดลง

ผลข้างเคียงจากระดับของฮอร์โมนจะเกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยตรง เพราะฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่ควบคุมระบบต่างๆของร่างกาย การที่ฮอร์โมนไม่สมดุลจะทำให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ เช่น

  • การเผาผลาญพลังงานลดลง
  • มวลกล้ามเนื้อเกิดการเปลี่ยนแปลง
  • ปริมาณน้ำตาลและไขมันในเลือดสะสมมากขึ้น
  • อารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดง่ายหรือมีภาวะซึมเศร้า
  • ผิวแห้งกร้าน ริ้วรอย หรือ สิวฮอร์โมน หน้ามัน

ปัญหาของสิวที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน

เมื่อเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย อาการที่ส่งผลออกมาทางผิวหนังเป็นอย่างแรกคือ สิวชนิดต่างๆ ที่เราเรียกกันว่า สิวฮอร์โมน เช่น

  • สิวอุดตัน
  • สิวอักเสบ
  • สิวหัวหนอง

ซึ่งเกิดจากฮอร์โมนแอนโดรเจนที่ไม่สมดุลและมีปริมาณมากเกิน ไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันของเราผลิตน้ำมันและ Sebum ออกมามากจนเกินความจำเป็นจนหน้ามัน และเมื่อหน้ามันผสมเข้ากับเซลล์ผิวที่ตายแล้วหรือเชื้อแบคทีเรียที่อยู่บนผิวหน้าของเรา ก็จะเกิดการอุดตันจนเป็นสิวอุดตันหรือสิวอักเสบได้ง่ายขึ้น

ฮอร์โมน ในร่างกายมีกี่ประเภท

เพปไทด์ฮอร์โมน (Peptide Hormone) เช่น อินซูลิน (Insulin) หรือ ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth Hormone)

สเตียรอยด์ฮอร์โมน (Steroid Hormone) ฮอร์โมนเพศ เช่น เทสโตสเตอโรน (Testosterone) หรือ คอร์ติโซน (Cortisol)

อะมีนฮอร์โมน (Amine Hormone) เช่น อะดรีนาลีน (Adrenaline) โดพามีน (Dopamine) หรือ เมลาโทนิน (Melatonin)

ชนิดของฮอร์โมนที่สำคัญกับระบบร่างกายของเรา

  • เอ็นโดรฟิน ช่วยเรื่องความสุข ความพึงพอใจ
  • โดพามีน เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ ความจำและการเรียนรู้ต่างๆ
  • เซโรโทนิน ช่วยต้านความเครียด ต้านทานความหงุดหงิด ไม่มีสมาธิ นอนไม่หลับ
  • โกรทฮอร์โมน ช่วยกระตุ้นการพัฒนาเซลล์ในเด็กให้เจริญเติบโต และฟื้นฟูเซลล์ในผู้ใหญ่
  • เอสโทรเจน ควบคุมในด้านอารมณ์ต่างๆและความจำรวมไปถึงมวลกระดูกในผู้หญิง
  • เทสโทสเทอโรน ควบคุมเรื่องมลกระดูกและกล้ามเนื้อต่างๆ
  • ไทรอยด์ ควบคุมการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ระดับไขมันในเลือด
  • คอร์ติซอล ชะลอความเสื่อมของเซลล์ กระตุ้นร่างกายให้กระตือรือร้น
  • เมลาโทนิน ช่วยในเรื่องการพักผ่อนและนอนหลับ

ฮอร์โมนเป็นสารสำคัญที่ช่วยในการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย และสามารถสังเกตุได้ง่ายเมื่อเรามีอาการฮอร์โมนไม่สมดุลหรือขาดฮอร์โมน จากอาการผิดปกติต่างๆที่ร่างกายแสดงออกมา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านอารมณ์ ความเครียด อวัยวะทำงานผิดปกติ หรือผิวหนังที่มีการเปลี่ยนแปลง สิวขึ้น หรือ ผิวแห้ง เบื้องต้นสามารถดูแลด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม แต่อย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้มีประโยชน์ เพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงและทำงานได้อย่างเป็นปกติ และปรับสมดุลของฮอรโมนให้เป็นปกติ